วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเพาะ”เห็ดฟาง”จากทะลายปาล์ม

การเพาะ”เห็ดฟาง”จากทะลายปาล์ม

นางบุญ น้อย  อินทร์นิมิตร แกนนำเกษตรกรในพื้นที่ ม.4 ต.ท้ายสำเภา อ.พระ พรหม จ.นครศรีฯ ได้มีการรวมกลุ่มกันจัดทำโครงการ “เพาะเห็ดทะลายปาล์ม” ขึ้น มา เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวและสมาชิกในชุมชน และ ได้ให้ข้อมูล ความรู้เพิ่มเติมว่า

“การเพาะเห็ดฟางสามารถใช้วัสดุเพาะได้หลายชนิด  เช่น เปลือกถั่วเขียว กาก มันสำปะหลัง  ผักตบชวา  ชานอ้อย  ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  และทะลายปาล์มน้ำมัน ก็เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากโดยเฉพาะในภาคใต้ หาได้ง่าย ตนเองและ สมาชิก จึงทดลองนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟางดู และก็ได้ผลจริงๆ    เพราะทะลาย ปาล์มสามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดี ไม่แพ้กับการเพาะด้วยฟางข้าว” และที่สำคัญ ที่สุดทางกลุ่มได้มีการนำทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดในสวนยางพารา เป็นการใช้ พื้นที่ที่มีอยู่มาให้เกิดประโยชน์ และเป็นการเกื้อกูลกันของพืช ได้ผล ประโยชน์ร่วมกันระหว่างยางพาราและเห็ดด้วย เพราะต้นยางพาราสามารถสร้างร่ม เงาและแสงแดงรำไรช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และเมื่อเห็ดหมดดอก ทะลาย ปาล์มก็จะกลายมาเป็นอาหารอย่างดีให้กับต้นยางพาราด้วย”
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด :
1. ทะลายปาล์ม
2. เชื้อเห็ดฟาง หรือเห็ดอื่น ๆ ที่ต้องการ
3. ผ้าพลาสติกความยาว ม้วนละ 70 เมตร
4. ไม้ไผ่ สำหรับขึงผ้าพลาสติก
5. พื้นที่ ที่ใช้เพาะเห็ด (จะใช้พื้นที่ในสวนยางพารา)
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง :
1. นำทะลายปาล์มมากองรวม ล้อมกันเป็นวงกลม โดยจะฉีดน้ำ 2 วันต่อหนึ่งครั้ง คลุมด้วยผ้าพลาสติก รอประมาณ 3-7 วัน (เพื่อให้ทะลายปาล์มชุ่มน้ำ) นำเอามาใช้ได้
2. เตรียมพื้นที่โดยการถางหญ้ารอบ ๆ สวนยางออก จะใช้พื้นที่ระหว่างต้นยางในการเพาะเห็ด ซึ่งการเพาะเห็ดจะต้องใช้พื้นที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก หากปลูกในพื้นที่โล่งมาก แดดส่องจ้า ต้องมีการกรองแสงด้วย
3. นำทะลายปาล์มมาวางเป็นร่องตามช่องว่างของต้นยาง ความยาวประมาณ 5 เมตร ฉีดน้ำลงบนทะลายปาล์ม เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก
4. โรยเชื้อเห็ด ลงบนร่องที่เตรียมไว้ โดย 1 ร่อง ใช้เชื้อ 3 ก้อน โรยเชื้อก้อนละ 1 เมตร
5. รอประมาณ 3 วัน ขึ้นโคลงไม้ไผ่ เป็นแนวไว้สำหรับขึงผ้าพลาสติก ประมาณ 4-5 โคลง โค้งเป็นแนวยาว
6. คลุมผ้าพลาสติกตามแนวโคลงไม้ไผ่ 1 ร่อง ใช้ผ้าพลาสติกประมาณ 7 เมตร
7. รอประมาณ 7 – 9 วัน เห็ดก็จะงอก สามารถเก็บไปขายได้
การดูแลรักษา :
การระบายความร้อน หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 4-5 วัน ให้เปิดชายผ้าพลาสติกออกบ้างเพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดบ้าง เพราะถ้าอากาศร้อนเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่รวมตัวเป็นดอก นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังเป็นการเพิ่มอากาศให้กับเห็ดอีกด้วย
การให้น้ำ :
พยายามให้ความชื้นแก่กองเห็ดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง พยายามพ่นน้ำให้เป็นฝอยลงบนกองเห็ดพอชุ่มชื้น
การเก็บเกี่ยว :
เมื่อดอกเห็ดโตพอได้ขนาดที่ตลาดต้องการจึงเริ่มเก็บ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ดอกบานเพราะจะทำให้ราคาเสียได้ การเก็บดอกเห็ด จะเก็บได้หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 7 วัน ขึ้นอยู่กับความร้อนและฤดูกาล ในฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็ว แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวจะเก็บได้ช้า เห็ดจะออกดีในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม และควรเลือกเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่ตูม จะทำให้ได้เห็ดที่มีคุณภาพดี
วิธีการเก็บดอกเห็ด :
ให้ใช้นิ้วชี้กดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ถ้าดอกเห็ดออกเป็นกลุ่มให้สังเกตดูว่าในกลุ่มนั้นมีดอกโตพอประมาณที่จะเก็บ ได้มากกว่าดอกขนาดเล็กก็ควรเก็บได้เลยทั้งกลุ่ม และขณะเก็บดอกเห็ดไม่ควรกระทบกระเทือนดอกที่ยังเก็บไม่ได้เพราะอาจทำให้ดอก เห็ดอื่นช้ำและฝ่อได้ เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้ว ต้องตัดแต่งเอาเศษวัสดุที่ติดมาออก เพื่อความสวยงาม แล้วจึงใส่ภาชนะนำส่งขายต่อไปเพื่อให้ได้ราคาดี

2 ความคิดเห็น:

  1. ง่ายๆจัง
    ตอนมักทะลายปาล์มเเค่เเช่น้ำเองหรึ
    เยี้ยมไปเลย

    ตอบลบ
  2. ในฟาร์มมีไรเยอะไหม

    ตอบลบ