วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เพาะเห็ดฟาง ไม่ง่ายอย่างที่คิด

แถวบ้านเราเขาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยในสวนยาง พอเก็บผลผลิตเสร็จก็ย้ายไปเรื่อยๆ เจ้าของสวนก็ชอบเพราะว่าคนเพาะเห็ดจะทิ้งวัสดุปลูกไว้เป็นปุ๋ย แบบว่าได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

เราเองนึกอยากลองเพาะเห็ดดูบ้าง แต่ไม่สะดวกไปเพาะที่สวนยางเนื่องจากสวนยางอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 15 กม. เลยลองเอามาเพาะที่บ้าน แบบว่ามีที่ว่างตรงไหนก็ลงเห็ดทั้งหมด
วัสดุปลูกเราใช้ขั้วปาล์มนำมาหมัก




ปลูกบนโต๊ะไม้เก่าๆ






จะไม่เล่าถึงวิธีการปลูก แต่จะเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่ามันไม่ง่ายยังงัย

ข้อดี
1. เห็ดฟางออกดอกแยะมากเมื่อเพาะครั้งแรก
2. เก็บผลผลิตได้เร็ว ตั้งแต่เริ่มปลูก 15 วันก็เก็บผลผลิตได้แล้ว และสามารถเก็บได้อีก 2-3 ครั้ง
3. ราคาสูง ประมาณ 80 – 100 บาท/กก. คนที่เขาทำจริงจังมีรายได้วันละ 2000 บาทเลยทีเดียว 
4. เป็นที่ต้องการของตลาด ไปส่งแม่ค้าไม่เคยปฏิเสธ บอกแต่ว่า “มีอีกไหม?” 



ปลูกบนชั้นวางของ



ข้อเสีย
1. ในเวลา 15 วันของการเพาะเห็ดฟาง ต้องดูแลมันอย่างดี แบบว่าไม่มีเวลาว่างกันเลยทีเดียว ตั้งแต่การเตรียมวัสดุปลูก การลงแปลง โดยเฉพาะในช่วงของการเก็บผลผลิต ต้องเก็บวันละ 2 รอบ รอบแรกตอนเช้ามืดประมาณ ตี 3 ถึงตี 4 และอีกรอบหนึ่งช่วงบ่าย เพราะถ้าไม่เก็บรอบบ่ายรอให้ถึงเช้าอีกวันหนึ่งเห็ดก็จะบาน เสียราคาหมด
2. เหม็นมาก จากการหมักวัสดุปลูก ตอนที่เพาะเห็ดที่บ้านเราเกรงใจเพื่อนบ้านมาก แต่ไม่รู้จะทำงัย...เริ่มต้นไปแล้วนี่นา ต้องทำให้สำเร็จ
3. การเพาะเห็ดฟางชุดที่ 2 ต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคพื้นที่ปลูกเป็นอย่างดี ถ้าไม่สะอาดจริงจะไม่ได้ผลผลิตเลย เป็นอันว่าชุดที่ 2 นี้ เราขาดทุน...แน่นอน มันเป็นประสบการณ์ที่ดีมากทีเดียว (คนที่เขาทำใสสวนยางจึงต้องย้ายไปเรื่อยๆ)



ปลูกในตรอกข้างบ้าน (พื้นปูน)




สรุป 
หลังจากขาดทุนจากการเพาะเห็ดชุดที่ 2 แล้ว ก็เลิกคิดจะทำต่อ เนื่องจากไม่มีเวลาดูแลมันมากขนาดนั้น เราเองเป็นพนักงานบริษัท ช่วยกันทำสองคนกับสามีที่เป็นพนักงานบริษัทเหมือนกัน ตอนเพาะเห็ดแทบไม่มีวันหยุด หรือเวลาว่างพักผ่อนเลย อีกอย่างมันเห็นมากเกรงใจเพื่อนบ้านด้วย 
แต่คิดถึงตอนที่เห็ดออกดอกนี่มีความสุขมากเลย ทั้งภูมิใจ และได้ตังค์ด้วย



ใกล้ๆ ดอกใหญ่มาก


 

Ref. http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=puk41&date=27-03-2012&group=8&gblog=2

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การปลูกเห็ดฟาง Step

การปลูกเห็ดฟาง

การเพาะปลูก การปลูกเห็ดฟาง


1. เอาฟางมาหมักหรือแช่น้ำฟางนั้นจะเป็นฟางปลายข้าว หรือฟางจากตอซังข้าวก็ได้ ถ้าเป็นตอซังจะมีดีกว่าเพราะมีอาหารเยอะ 
2. ถ้าเป็นปลายฟางแช่น้ำนานหน่อย สัก 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นตอซังแช่ซัก 1-3 ชั่วโมง
3. ทำไม้แบบสำหรับอัดฟางให้แน่นเป็นกองๆ 
4. หมักฟางจนใช้ได้แล้ว ให้เอามาใส่ไม้แบบแล้วย่ำให้แน่นพอสมควร 
5. โรยอาหารเสริม (ใช้รำข้าวก็ได้) ก่อน แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางทับลงไป ให้โรยติดขอบ
6. จากนั้นใส่ฟางทับแล้วรดน้ำให้ชุ่มพอสมควร แล้วขึ้นเหยียบให้แน่นพอควร ชั้นเห็ดกับฟางจะทำกี่ชั้นก็ได้
7. พอได้ครบชั้นที่กำหนด ก็ให้ยกไม้แบบขึ้น 
8. จากนั้นให้ใช้พลาสติกคลุมกองฟางไว้เพื่อควบคุมอุณหภูมิ
จากนั้นก็รอเก็บเห็ดฟางได้เลยครับ อีก 8-10 เห็ดฟางก็จะเกิดแล้ว 
9. ให้รดน้ำข้างๆ กองฟาง (อย่ารดให้ถูกกองฟางหรือเชื้อเห็ด) ทุกวัน
ช่วง 2-3 แรก อุณหภูมิข้างในกองฟางควรอยู่ที่ 35-38 องศา 
10. ประมาณวันที่ 5-6 (เพาะได้ 5-6 วัน) จะมีเห็ดเกิดขึ้นมาแล้ว
11. ประมาณวันที่ 7-8 (เพาะได้ 7-8 วัน) ก็สามารถเก็บเห็ดได้


ประโยชน์ของ การปลูกเห็ดฟาง

เห็ดฟางให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด เชื่อว่าหากรับประทานประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันลดการติดเชื้อต่างๆ แต่ก็ไม่ควรรับประทานสด ๆ เพราะมีสารที่คอยยับยั้งการดูดซึมอาหาร ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการผื่นคันต่างๆ

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า


ส่วนใหญ่นั้นการเพาะเห็ดในตะกร้าทั่วไป เป็นการเพาะเห็ดอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำได้ง่ายและใช้พื้นที่น้อย ขั้นตอนไม่ยุ่งยากมาก สามารถทำได้ทุกครัวเรือน ทำไว้สำหรับบริโภค ดอกเห็ดสามารถทยอยออกได้เรื่อยๆ เป็นการลดรายจ่ายด้านอาหารในครัวเรือน และสามารถทำเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย โดยใช้วัสดุที่เหลือใช้จากไร่นาได้เกือบทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถนำก้อนเชื้อเห็ดที่เก็บดอกหมดแล้วมาใช้ได้ ทั้งเห็ดฟาง เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า และเห็ดนางรม และสามารถเพาะเห็ดแบบผสมผสานหลายชนิดพร้อมกันในตะกร้าเดียวได้ โดย การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า สามารถดูรายละเอียดของการเพาะได้ที่นี่


   สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเพาะเห็ดก็หาได้ง่ายทั่วไป ประกอบด้วยตะกร้าพลาสติค ขนาด 12-14 นิ้ว มีตาห่างประมาณ 2×2 เชื้อเห็ดฟางที่พร้อมเพาะ หรือก้อนเชื้อเห็ดเก่า ปุ๋ยหมัก หรือผักตบชวาหั่นสด ท่อนไม้ สำหรับรองก้นตะกร้า โครงไม้ไผ่แบบสุ่ม และผ้าพลาสติคคลุมสุ่ม

   ส่วนวิธีการเพาะนั้น ก่อนอื่นให้เทก้อนเชื้อเห็ดเก่าออกจากถุงโดยขยี้ให้แตก อัดลงในตะกร้า หนาชั้นละ 3 นิ้ว ใส่อาหารเสริมจำพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือผักตบชวาสับ ชั้นละ 1-2 กำมือ โรยเชื้อเห็ดฟาง รดน้ำพอชุ่มแล้วทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ต่อไปเหมือนกัน โดยชั้นที่ 3 ให้เหลือช่องว่างของตะกร้าจากปากไว้ 3 นิ้ว การเลือกเชื้อเห็ดที่ดี ควรเลือกที่มีเส้นใยเต็มถุง มีสีขาวนวล ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา และมีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง ส่วนพื้นที่เพาะเห็ดต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลง น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี

   วิธีการดูแลเห็ดหลังการเพาะแล้วนั้นไม่ยาก โดยหลังจากบรรจุวัสดุเพาะเห็ดเรียบร้อยแล้ว ให้นำตะกร้าเห็ดที่ได้ไปวางไว้ตามร่มไม้ชายคา ที่มีแสงแดดเล็กน้อยโดยเอาท่อนไม้วางรองด้านล่างกันปลวก โดยการเพาะ 1 สุ่ม ควรใช้ตะกร้า 4 ใบ วางด้านล่าง 3 ใบ ซ้อนด้านบน 1 ใบ ใช้สุ่มครอบ คลุมด้วยแผ่นพลาสติค เมื่อครบ 4 วัน ให้เปิดพลาสติคคลุมตอนเช้า หรือเย็นเพื่อให้เชื้อเห็ดรับอากาศ ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วปิดไว้ตามเดิม ทิ้งไว้กระทั่ง วันที่ 9-12 ดอกเห็ดฟางก็จะเกิด สามารถเก็บไปประกอบอาหารได้เลย ถ้าทำจำนวนมากหลายสุ่มจะเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอย่างดีอีกด้วย โดยดอกเห็ดฟางในตะกร้าสามารถเก็บได้เรื่อยๆ จนหมดรุ่น ซึ่งสามารถเปิดพลาสติครดน้ำให้เปียกเอารุ่นที่ 2 ได้อีก พอดอกเห็ดหมดสามารถนำวัสดุที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยหมัก ใส่แปลงผัก หรือใส่แปลงนาได้อย่างดี หลังจากนั้น ล้างตะกร้าให้สะอาดตากแดด ประมาณ 1-2 แดด นำมาเพาะเห็ดรุ่นต่อไปได้ หากไม่ทำความสะอาด เชื่อโรคและเชื่อเห็ดราอื่นๆ อาจมีการเกิดแทนที่เชื้อเห็ดฟางได้

ศัตรูของเห็ดฟาง

   ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นพวก แมลงต่างๆ เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีการแก้ไขส่วนใหญ่ที่ใช้คือใช้สารเคมีพวกเซฟวินโรยรอบๆ กอง ซึ่งไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก เซฟวิน หรือ ชื่อสามัญคือ : คาร์บาริล เป็นสารเคมีกำจัดแมลงจำพวก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มวนข้าว เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ โดยอัตราแนะนำใช้คือ สารออกฤทธิ์ 0.75 = เซวิน 0.88 ลิตร/เฮกตาร์ การใช้ผสมร่วมกับสารอื่น ห้ามผสมสารสำเร็จรูปที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ผสมเข้าได้ดีกับสารฆ่าแมลง และสารกำจัดโรคพืชอื่น ๆ โดยสารชนิดนี้มีรูปสารเป็นรูปผงละลายน้ำ มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ถูกตัวตาย และกินตาย มีฤทธิ์ตกค้างระยะยาว อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ การป้องกันทำได้โดยฉีดพ่นกองเพาะด้วยยาฉุน ไม่ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีเพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เนื่องจากดอกเห็ดจะดูดซึมน้ำที่มีสารเคมีปะปนเข้าไปด้วย

   นอกจากแมลงที่เป็นศัตรูของเห็ดฟางแล้ว ศัตรูอีกอย่างคือเห็ดคู่แข่ง เป็นเห็ดที่เราไม่ได้เพาะ แต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่างๆ วิธีแก้คือ การเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยด้วยฟางข้าว

วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ได้แก่ ตอซังข้าว ปลายฟางข้าว หรือฟางข้าว เปลือกถั่วเขียว เปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย หรือก้อนเห็ดที่หมดอายุแล้วเป็นต้น
2. อาหารเสริม ได้แก่ ไส้ฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาสับตากแห้ง ต้นกล้วย มูลสัตว์สลายตัวแห้งแล้ว เช่น มูลวัว มูลหมู มูลควาย เป็นต้น
3. แบบไม้ สำหรับทำกองเห็ด มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร ด้านล่าง 30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร โดยด้านบนแคบกว่าด้านล่างเล็กน้อยไม่มีฝาและไม่มีก้น สำหรับขนาดดัดแปลงให้ใกล้เคียงตามนี้ก็ได้
4. บัวรดน้ำ ถังใส่น้ำ สายยาง จอบ
5. ผ้าพลาสติกคลุมแปลง
6. เชื้อเห็ดฟาง ควรเป็นเชื้อที่มีเส้นใยขาวหนาแน่น เดินต่อเนื่องในอาหารผสมจากปากถุงถึงก้นถุง มีบางส่วนปรากฏเป็นสีน้ำตาลของเส้นใย หรือเริ่มจับกันเป็นตุ่มเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด มีกลิ่นหอมของเห็ด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ปะปน เช่น ราเขียว ราดำ เป็นต้น เชื้อไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
7. พื้นที่เพาะ ต้องน้ำไม่ท่วม ไม่มีมด ปลวก หรือสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นพื้นทราย ปูนหรือที่ทิ้งขยะ ไม่เคยเป็นที่เพาะเห็ดมาก่อนยิ่งดี แต่ถ้าจำเป็นควรไถ่ตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลงก่อน หลังจากนั้นพรวนและปรับดิน ก่อนเพาะเชื้อเห็ด
8. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด มีคุณสมบัติเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย ไม่เป็นกรด ไม่มีสารเคมีเจือปน ไม่เป็นน้ำเน่าหรือน้ำเสีย ควรแช่วัสดุเพาะและอาหารให้อิ่มตัว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับชนิดและวัสดุ เช่น ต้นซังแช่ประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าใช้ปลายฟาง 4 – 5 ชั่วโมง ส่วนอาหารเสริมลดน้ำให้เปียกพออิ่มตัวก็ใช้ได้

ขั้นตอนการเพาะ 
ก่อนอื่นต้องปรับดินให้เรียบเสียก่อน เวลาเพาะและการวางแนวกอง ควรเพาะช่วงเช้า เพื่อจะได้สะสมความร้อนในแปลงเพาะ ควรวางแนวหนาประมาณ 10 เซนติเมตร หรือ 1 ฝ่ามือ นำอาหารเสริมที่แช่น้ำ เช่น ขี้ฝ้าย , ไส้นุ่น โรยบนฟางข้าวแต่ถ้าเป็นมูลสัตว์แห้งไม่ต้องแช่น้ำ สามารถโรยบนฟางข้าวได้เลย เฉพาะบริเวณรอบๆ กอง บริเวณห่างจากขอบไม้แบบเข้ามา 1 ฝ่ามือ แล้วโรยเชื้อเห็ดทับลงบนอาหารเสริมปกติ เชื้อเห็ดควรขยี้ให้กระจายตัวก่อนโรยเชื้อเห็ด เป็นเสร็จ
ชั้นที่ 1 จะทำชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ทำในทำนองเดียวกัน แต่ชั้นที่ 3 ปิดทับหลังกองด้วยฟางข้าวบางๆ เมื่อทำกองเสร็จรดน้ำบนกองให้โชกยกแบบไม้ออก เพื่อนำไปเพาะกองต่อไป แต่ละกองควรห่างกันประมาณ 15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ และทำกองต่อไป ระหว่างกองโรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดฟาง
ปกติ จะทำกองขนานกันไป 10 – 20 กอง หลังจากนั้นใช้ฟางแห้งคลุมทับพลาสติกอีกที หรือก่อนคลุมพลาสติกอาจจะทำโครงไม้เหนือกองเห็ด เพื่อไม่ให้พลาสติกติดหลังกอง แล้วมัดด้วยฟางอีกชั้นหนึ่ง
ปกติ การเพาะแบบนี้ แทบไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นมากพอจนถึงเก็บดอกเห็ด แต่ถ้าเพาะเห็ดไปได้ 3 – 4 วัน ถ้ากองเห็ดแห้งเกนไป ควรรดน้ำเบาๆ ให้ชื้น แต่ถ้ากองไหนชื้นเกินไปต้องเปิดพลาสติกออก ให้ความชื้นระเหยออกไป หลังจากดอกเห็ดเริ่มเป็นตุ่มเล็กๆ ห้ามรดน้ำเด็ดขาด เพราะถ้ารดน้ำเห็ดจะฝ่อไปในที่สุด เมื่อดอกเห็ดโตพอจะเก็บได้ ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดจะหลุดออกมา สามารถเก็บได้ถึง 2 – 3 วันก็หมดแล้ว ปกติสามารถเก็บเห็ดได้นับจากวันเพาะประมาณ 8 – 10 วัน