วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย 2

การใช้อาหารเสริมกับเห็ดฟางเพื่อเพิ่มผลผลิต

อาหารเสริมที่แนะนำเพื่อเพิ่มผลผลิต ต้องมีส่วนผสมของฮิวมิค เพื่อเพิ่มอาหารให้แก่เชื้อเห็ด จะได้มีอาหารและเชื้อเดินได้ดียิ่งขึ้น
ขอแนะนำ ปุ๋ยนาโน นำเข้าจากแคนนาดา ออแกนิค ด้วยเทคโนโลยีจากแคนนาดาในการปลูกพืช
ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
รายละเอียดสั่งชื้อจากตัวแทนจำหน่ายได้

การเก็บเห็ดฟาง

เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

การเก็บดอกเห็ด

ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม  และมีการดูแลเป็นอย่างดีแล้ว ประมาณวันที่2 ใยเห็ดจะเจริญแผ่ในกองฟาง  และจะเจริญแผ่ไปทั่วในวันที่ 6     วันที่ 7หรือ 8  เส้นใยที่อยู่ริมกองและด้านบนก็จะเริ่มปรากฎเป็นตุ่มเล็กๆ นี้จะค่อยๆ โตขึ้น จนถึงวันที่9-10 ก็จะโตขึ้นพอเก็บได้
วิธีการเก็บดอกเห็ด ให้ใช้นิ้วชี้กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย  ยกขึ้นเบาๆ  ดอกเห็ดจะหลุดลงมา   ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่  ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน  แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง  ก็ต้องเก็บทันที  มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก  ทำให้ขายไม่ได้ราคา

 การเผากอง

ในบางพื้นที่บางแห่ง  ซึ่งมีดินเปรี้ยว เกษตรกรบางราย อาจจะใช้วิธีเมื่อเพาะเห็ดเสร็จหมดเรียบร้อยแล้ว นำแบบพิมพ์ออกเรียบร้อยแล้วก็เอาฟางแห้ง เอามาโรยบนกองนั้น แล้วจุดไฟเผาเลียไหม้ฟางแห้งส่วนที่เอามาโรยคลุมได้ถูกเผากลายเป็นขี้เถ้าหมด ต่อมารดน้ำให้เปียกชื้น ขี้เถ้าเหล่านั้นก็ละลายน้ำ   กลายเป็นด่างช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน  แต่วิธีอาจจะไม่สม่ำเสมอ  อาจจะไม่สามารถกำหนดให้พอเหมาะพอดี

การให้น้ำแก่ดิน

การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น   มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น  โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน  หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา  แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ      ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น  อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี  เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี  คาร์บอนไดออกไซด์มาก  ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น
การดูแลรักษา
  1.  การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกันแดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง
  2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

  1.  แมลง ได้แก่ มด ปลวก  จะมาทำรังและกัดกิน เชื้อเห็ด และรบกวนเวลาทำงาน  การป้องกันนอกจากเลือกสถานที่เพาะเห็ด  ไม่ให้มีมด ปลวก  แล้วอาจจะใช้ ยาฆ่าแมลง  เช่น  คลอเดน หรือเฮพต้าคลอร์  โรยบนดินรอบกองฟาง  หรือโรยทั่วพื้นที่ก่อนที่จะทำการเพาะเห็ดฟางก็ได้  อย่าโรยยาฆ่าแมลงลงบนกองฟางจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  2. สัตว์ชนิดอื่น  ได้แก่ หนู คางคก กิ้งกือ และจิ้งเหลน  จะมากัดกินเชื้อเห็ดและขุดคุ้ยลายแปลงเพาะบ้าง  แต่ไม่มากนักเห็ดราชนิดอื่น  ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก เห็ดด้าน จะเจริญแข่งขันและแย่งอาหารเห็ดฟาง  ป้องกันได้โดยใช้ฟางที่แห้งที่สะอาดยังไม่มีเชื้อราอื่นขึ้น  ใช้ที่ดีและดูแลรักษากองฟางให้ถูกวิธี
วิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

 การย้ายที่เพาะ

คือการเลื่อนไปปลูกเห็ดลงพื้นที่ซึ่งไม่เพาะเห็ดมาก่อน   วิธีนี้ลดปัญหาพวกเชื้อราได้

ข้อดี ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

  1. การเพาะกองเตี้ยสามารถใช้วัสดุเพาะได้มาก  เช่น  ตอซัง  กองฟาง  ผักตบชวา  ต้นกล้วย  ฝักถั่วลิสง  ไส้นุ่น  เปลือกถั่วเขียว  ฯลฯ
    1. ใช้แรงงานน้อย
    2. วิธีการเพาะง่าย  สะดวกและดูแลรักษาง่าย
    3. ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเห็ดฟางมาก  แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า
    4. ระยะเวลาในการผลิตสั้นและสามารถกำหนดวันที่ให้ผลผลิตได้แน่นอน
    5. สามารถเพาะในเนื้อที่ที่จำกัดได้
  2. ใช้อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด ค่อนข้างมาก
  3. ต้องใช้อาหารเสริม
  4. เพาะในฤดูหนาวมักมีปัญหาเรื่อความร้อนไม่พอ
  5. ผลผลิตจะออกมามากครั้งเดียว  โดยเก็บติดต่อกัน  2-3  วันก็หมด

ข้อเสีย ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
  1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
  2.  ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
  3.  หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซม. ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก
  4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
  5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
  6. การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น

คุณค่าทางอาหารจากดอกเห็ดฟาง

คุณค่าทางอาหาร
เห็ด ฟางสด
เห็ดฟางแห้ง
โปรตีน3.40%49.04%
ไขมัน1.80%20.63%
คาร์โบไฮเดรท3.90%17.03%
เถ้า-13.30%
พลังงาน44 แคลอรี่4170 แคลอรี่
แคลเซียม8 มิลลิกรัม2.35% ของเถ้า
เหล็ก1.1 มิลลิกรัม0.99% ของเถ้า
ฟอสฟอรัส-30.14% ของเถ้า
ที่มา : วารสารเห็ด 2(1) : 40-41 (2525)

ตลาดสด

เมื่อเห็ดมาถึงตลาดส่ง เห็ดจะมีคุณภาพดีที่สุดในช่วงเช้ามืด  พ่อค้าแม่ค้าที่ขายเห็ดสด  ถ้าจะรักษาคุณภาพเห็ดสดนั้นให้ดีต่อไปก็ตาม  ควรที่จะได้แบ่งเห็ดสดเป็นจำนวนกี่ขีดต่อกี่บาท  แบ่งใส่ในถุงเล็กๆ  ถ้าใช้วิธีพรมน้ำลงไป  ผู้ขายอาจจะได้กำไรมากขึ้น  เพราะได้ขายน้ำที่ซึมอยู่ในเนื้อเห็ด   แต่คุณภาพของดอกเห็ดนั้นก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว  โดยมากถ้าไปถึงช่วงบ่าย  ดอกเห็ดไม่สวย  ราคาการขายก็จะลดลง  แต่พ่อค้าแม่ค้าก็มักจะไม่ขาดทุนเนื่องจากได้กำไรดีมาตั้งแต่ในตอนเช้ามืดแล้ว

เห็ดฟางอัดกระป๋อง

ประเทศไทยก็ได้มีการทำเห็ดฟางอัดกระป๋อง   โดยนำเห็ดนั้นมาตกแต่งให้สะอาด   ปอกเอาเยื่อหุ้มออก   แล้วให้มีรูปทรงของดอกเห็ดที่ไม่มีเยื่อข้างบน   จากนั้นจึงนำกรรมวิธีเพื่ออัดกระป๋อง  อาจจะมีบ้างที่ไม่ได้เอาส่วนโคนออก   แต่นำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น   เช่นไปปรุงอาหารอีกแบบหนึ่ง
ในขณะนี้ได้มีการขายเห็ดแปรรูปในลักษณะของการทำต้มยำกุ้งแห้ง  ซึ่งเมื่อไปถึงต่างประเทศ  เขาก็จะนำกลับมาทำเปียก   อีกอยางหนึ่งคือการทำต้มยำกุ้งแต่มีเห็ดมากหน่อย  ก็เป็นต้มยำสำเร็จรูปอัดกระป๋องไปเลย  เมื่อถึงผู้บริโภคเขาก็เพียงแต่เปิดกระป๋อง   แล้วนำไปอุ่นหรือเข้าไมโครเวฟให้ร้อนในระดับที่ต้องการ  หรือเดือดอีกครั้งหนึ่ง  ก็นำไปเสริฟให้ลูกค้าได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น